Skip to main content

Arduino คืออะไร

Arduino คืออะไร




        Arduino อ่านว่า (อาดุยโน่ หรือ อา-ดู-อิ-โน่) เป็นเเพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์แบบโอเพนซอร์สบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก อ่านค่าเซ็นเซอร์วัดสภาพแวดล้อมต่างๆแล้วแสดงค่าที่เซ็นเซอร์สามารถอ่านได้ออกมาทางจอแสดงผล นำไปประยุกต์เข้าเป็นชิ้นงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น

        ปัจจุบัน Arduino ถือได้ว่าเป็นเเพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงจากทั่วโลก เนื่องมากจากราคาของตัวบอร์ด Arduino ไม่ค่อยสูงมาก เป็นโอเพนซอร์สทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ คอมมิวนิตี้และฟออรัมน์ในการถามตอบเรื่องเกี่ยวกับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรมเบื้องต้นและไลบรารี่สำหรับใช้งาน และอื่นๆ ในแพลตฟอร์มของ Arduino ประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนของฮาร์ดแวร์
        บอร์ด Arduinoเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีไอซีหรือชิพประมวลผลของไมโครคอนโทรเลอร์ (Micro Controller Unit:MCU) ประกอบอยู่กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ตัวบอร์ดของ Arduino จะมีอยู่หลายโมเดลให้เลือกใช้ โดยบอร์ดแต่ละโมเดลจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสเป็ค จำนวนพอร์ตต่างๆสำหรับใช้งาน พื้นที่ในการเขียนโปรแกรม ขนาดของบอร์ด เป็นต้น (เปรียบเทียบบอร์ด Arduino แต่ละโมเดลได้จาก https://www.arduino.cc/en/Products/Compare) 


บอร์ด Arduino สำหรับผู้เริ่มต้น
ข้อดีของบอร์ด Arduino
  • มีให้เลือกใช้หลายโมเดล
  • เป็นโอเพนซอร์สฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้สามารถนำไปสร้างเป็นบอร์ดของตัวเองได้แบบไม่ติดลิขสิทธิ์
  • มีบอร์ดเสริมเพิ่มประสิทธิภาพของบอร์ดจำนวนมาก
2. ส่วนของซอร์ฟแวร์
        ซอร์ฟแวร์ Arduino หรือที่เรียกว่า Arduino IDE (Integrated Development Environment) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม Arduino และอัพโหลดโปรแกรมที่พัฒนาสำเร็จเเล้วลงบนตัวบอร์ด 
โปรแกรม Arduino IDE แบบออฟไลน์
โปรแกรม Arduino IDE แบบออนไลน์
Arduino Cloud
ข้อดีของซอร์ฟแวร์ Arduino
  • รองรับการพัฒนาในบอร์ดหลายโมเดล และ สามารถเพิ่มบอร์ดอื่นๆที่ไม่ใช่บอร์ด Arduino ให้สามารถพัฒนาโปรแกรมและอัพโหลดโปรแกรมลงบนบอร์ดได้
  • ภายใน Arduino IDE ประกอบไปด้วยชุดคำสั่งต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรม และตัวอย่างไลบรารี่ต่างๆ ที่ได้ติดตั้งมาพร้อมใช้งานเเล้ว 
  • สามารถดาวน์โหลดไลบรารี่เพิ่มเติมและติดตั้งเพิ่มได้เติมได้
  • มี Cloud แบบออนไลน์ ใช้สำหรับเก็บข้อมูล ดึงข้อมูลไปแสดงผลได้

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ
https://www.arduino.cc/

Comments

Popular posts from this blog

Arduino กับการใช้งาน Serial Monitor

Arduino กับการใช้งาน Serial Monitor Serial Monitor คือ ส่วนหนึ่งของโปรแกรม Arduino IDE สามารถใช้งานได้ 2 อย่าง คือ - แสดงผลลัพธ์จากบอร์ด Arduino - ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลไปยังบอร์ด Arduino รูปแบบการใช้งาน Serial Monitor เริ่มต้นใช้งาน void setup() {    Serial.begin(9600); } แสดงผลออกทาง Serial Monitor Serial.print("Hello World");       /* แสดงคำว่า Hello World */ Serial.println("Hello World");     /* แสดงคำว่า Hello World และขึ้นบรรทัดใหม่ */   อ่านค่าจาก Serial Monitor Serial.read(); วิธีเปิด Serial Monitor 1. กด Ctrl + Shift + M 2. กด Icon ตัวอย่างการแสดงผลลัพธ์จากบอร์ด Arduino แสดงผลลัพธ์จากบอร์ด Arduino ตัวอย่างการรับค่าจาก Serial Monitor - ส่ง 1 เพื่อ On LED -  ส่ง 0 เพื่อ Off LED แสดงผลลัพธ์การรับค่าจาก Serial Monitor * ถ้าไม่สำเร็จ ตรวจสอบว่าเลือก No line ending และบอดเรทเป็น 9600 เเล้วหรือยัง

Arduino กับการใช้งานจอ LCD (Liquid Crystal Display) แบบ I2C

Arduino กับการใช้งานจอ LCD (Liquid Crystal Display) แบบ I2C         ในบทความนี้จะเป็นบทความการใช้งานบอร์ด Arduino กับจอ Liquid Crystal ขนาด 16x2 แบบ I2C ลักษณะการใช้งานคล้ายๆ บทความ  Arduino กับการใช้งานจอ LCD (Liquid Crystal Display)  คือ ให้บอร์ด Arduino ส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อความ หรือ ค่าเอาต์พุตจากเซ็นเซอร์ เพื่อเเสดงผลยังหน้าจอ LCD เเต่จะมีชุดควบคุม(PCF8574) สำหรับควบคุมการทำงานของจออีกทีหนึ่ง จึงทำให้ลดจำนวนขาการใช้งาน เหลือเพียง 4 เส้น รายละเอียดต่างๆ ของชุดควบคุมจอจะมีดังนี้ ขาสัญญาณสำหรับต่อเข้ากับบอร์ด Arduino ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้สำหรับปรับ Contrast ของตัวอักษร ตัวเลือก Address ของจอ จั๊มเปอร์เเบล็คไลท์ การเชื่อมต่อระหว่างจอ LCD และบอร์ด Arduino ติดตั้งไลบรารี่ ไปที่ Library Manager ค้นหา "LiquidCrystal i2c" เเล้วติดตั้ง ( ดูการติดตั้งไลบรารี่เพิ่มเติม ) ค้นหา I2C Adress ของชุดควบคุมจอ เพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อ เเละ ค้นหา Address ของชุดควบคุมจอ ( ดูการแสกน I2C Adress เพิ่มเติม ) หลังจากได้ Address เเล้ว นำ Addre...